DV-HYDROGEN.THT.IN


COMPANY

TEAMWORK

PROJECTS

 FAQs




Home

Contact


Side Menu


 สถิติวันนี้ 1 คน
 สถิติเมื่อวาน 0 คน
 สถิติเดือนนี้
สถิติปีนี้
สถิติทั้งหมด
3 คน
31 คน
157270 คน
เริ่มเมื่อ 2009-11-09

ออนไลน์ต้องการเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยการลงทุนต่ำที่สุดในยุคปัจจุบัน 499

http://www.dv-hydrogen.net/

delivery -hydrogen.net  บริการติดตั้งถึงบ้านหรือที่ทำงาน โทร 082-3055407
ด้วยความเป็นผู้นำด้านการติดตั้งระบบไฮโดรเจนในเมืองไทย ด้วยมาตรฐานสินค้าและบริการ จึงได้ขยายงานด้านการติดตั้งด้วยทีมงานช่างที่มีความชำนาญจาก ทาง dv-hydrogen Thailand ด้วยการเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าทุก ๆ ท่านด้วยการบริการติดตั้งนอกสถานที่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุก ๆ ท่านโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม ในเขตกรุงเทพฯ ปริมลฑล และทุกภาคของประเทศไทย  เช่น เชียงใหม่ เชียงราย  สกลนคร ภูเก็ต  ตรัง  กะบี่ ระนอง  และขอขอบคุณทุก ๆ ท่านที่ได้ให้ความไว้วางใจในผลิตภัณฑ์ของเราด้วยดีเสมอมา และเพื่อเป็นการช่วยลดมลพิษในอากาศ ลดภาวะโลกร้อน และเพื่อสิ่งแวดล้อมทางเฮชจีวีไทยแลนด์ได้เดินหน้าดำเนินการเปิดศูนย์สำหรับติดตั้งและเพิ่มยอดจำหน่ายให้กับรถยนต์ทุกชนิด ทั่วทั้งประเทศในเร็ว ๆ นี้ สายด่วน dv-hydrogen Thailand 082-3055407 ยินดีให้คำปรึกษา เกี่ยวกับระบบไฮโดรเจนในรถยนต์ทุกชนิด เรือประมง เครื่องยนต์สำหรับการเกษตรทุกชนิด  และเครื่องจักกลทุกชนิด  พร้อมบริการหลังการขายครับ
 

   การติดตั้งวงจรท่อก๊าซในระบบฯ ไม่มีอะไรซับซ้อน ค่อนข้างง่าย และเป็นมาตรฐาน โดยก๊าซจะเริ่มจ่ายจากตัวเซลล์ไหลผ่านวาวล์กันกลับตัวแรกไปยังขวดบับเบลอ (ขวดกักเก็บน้ำ และป้องกันไฟย้อนกลับ) จากนั้นจะไหลผ่านไปยังวาวล์กันกลับตัวที่สอง และต่อไปยังข้องอซึ่งเจาะเตรียมพร้อมไว้แล้วที่ท่อไอดีของเครื่องยนต์

การติดตั้งระบบฯ แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ 2 ส่วน ได้แก่
• การติดตั้งเซลล์ก๊าซ (OxyHydrogen Generator)
• การติดตั้งท่อจ่ายก๊าซ (Gas Tube Connection)

 

การติดตั้งเซลล์ก๊าซ
การติดตั้งเซลล์ก๊าซ ยังแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบ คือ


1. การติดตั้งที่ห้องเครื่องยนต์ (รถเก๋ง หรือรถกระบะ)

โดยปรกติแล้ว ความร้อนบริเวณห้องเครื่องยนต์ จะบั่นทอนประสิทธิภาพของการแยกก๊าซ และเป็นสิ่งที่
ซึ่งควรหลีกเลี่ยง ถึงกระนั้นก็ตาม ในหลายๆกรณีพบว่า มีความจำเป็น และหลีกเลี่ยงได้ยาก การหามุม
หรือพื้นที่ที่ห่างจากท่อไอเสีย หรือแหล่งความร้อนจากตัวเครื่องยนต์จะช่วยได้มาก แต่หากไม่มีทางเลือก
อื่นใด ก็จำเป็นต้องใช้แผ่นฉนวนความร้อนกั้นขวางระหว่างแหล่งความร้อนกับตัวเซลล์ จะเป็นการลด
ปัญหาลงไปได้พอควร การึ้นเล็กน้อยแติดตั้งในรูปแบบนี้ ถือเป็นหลักพื้นฐาน ด้วยการใช้อุปกรณ์ประกอบ
เบื้องต้นตามที่กำหนดไว้ให้ โดยเลือกบริเวณติดตั้งที่เหมาะสมให้พอเหมาะพอดีกับขนาดของอุปกรณ์แต่
ละชิ้น

2. การติดตั้งที่ห้องเก็บสัมภาระฝากระโปรงท้าย (รถเก๋ง) หรือ กระบะท้าย
(รถกระบะ)

เป็นการติดตั้งที่เหมาะสม หากสภาพแวดล้อมไม่เป็นที่อบร้อน การระบายความร้อนก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่
ควรนำมาพิจารณา หากเป็นการใช้งานหนักและยาวนานอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เซลล์ผลิตก๊าซจะมีอุณหภูมิ
สูงขึ้นเล็กน้อย และประสิทธิภาพในการผลิตก๊าซจะลดลงอย่างเป็นสัดส่วนผกผันกัน การติดตั้งในรูป
แบบนี้ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ประกอบของท่อโลหะหรือท่ออโลหะมาตรฐาน และปลอกพลาสติกตัวหนอน
หุ้มป้องกันท่อก๊าซอีกชั้นหนึ่ง เมื่อต้องเดินท่อก๊าซจากเซลล์ไปยังห้องเครื่องด้านหน้า โดยอุปกรณ์
ประกอบดังกล่าว ได้ถูกบรรจุอยู่ในชุดอุปกรณ์ประกอบมาตรฐานไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

3. การติดตั้งแบบจุดจ่ายรวม กรณีใช้ป้อนเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ หรืองานเชื่อม
โลหะ และงานพิเศษอื่นๆ

โดยทั่วไป การติดตั้งในลักษณะดังกล่าวนี้ เป็นการติดตั้งเซลล์จำนวนมากเพื่อผลิต และจ่ายก๊าซใน
ปริมาณสูงให้กับเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ หรือการนำเอาก๊าซไฮโดรเจนไปเพื่อการสร้างแหล่งพลังงาน
ในเตาเผา หรืองานเชื่อมโลหะ ตลอดจนกระทั่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมในการผลิตก๊าซไฮโดรเจน
เพื่อประยุกต์การใช้งานทางด้านอื่นๆ ดังนั้นการใช้อุปกรณ์ประกอบต่างๆ จึงมีจำเป็นที่จะต้องออกแบบ
เป็นพิเศษให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นกรณีๆไป

 

ข้อควรจำ การติดตั้งเซลล์ ตลอดจนตัวกักเก็บน้ำ และป้องกันเปลวไฟย้อนกลับ (Bubbler) ถูกออก
แบบให้ติดตั้งอยู่คู่กัน เพื่อการควบคุมระดับอีเลคโทรไลท์ ดังนั้น กรณีนำไปติดตั้งแยกจากกัน จึงเป็น
สิ่งซึ่งควรหลีกเลี่ยง และต้องติดให้ตั้งตรงในแนวดิ่ง โดยระดับอีเลคโทรไลท์จะเท่ากัน เมื่อเทียบกับตัว
เซลล์ตามที่กำหนดไว้ให้ ฉะนั้น การยึดฐานเซลล์ หูรัด ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ จะต้องมั่นคงแน่นหนา
และตั้งตรงอยู่เสมอ

การติดตั้งท่อจ่ายก๊าซ (Gas Tube Connection)
เป็นการติดตั้งท่อส่งก๊าซจากวาวล์กันกลับของขวด Bubbler ไปยังข้องอซึ่งเจาะเตรียมพร้อมไว้แล้วที่ท่อ
ไอดีของเครื่องยนต์ (ติดตั้งตาม Circuit and Gas Diagram และรูปตามด้านล่างนี้)

 
 
 
 

การติดตั้งระบบไฟฟ้าควบคุมการใช้งาน (Electrical Control System)
ติดตั้งตาม Circuit and Gas Diagram และรูปตามด้านล่างนี้

 

การทำงานของวงจรไฟฟ้าโดยสังเขป
     เมื่อต่อวงจรไฟฟ้าเป็นที่เรียบร้อยตามที่ได้แนะนำไว้แล้ว วงจรจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเซลล์ผลิตก๊าซ จะเริ่มจากเมื่อหมุนสวิทช์กุญแจสตาร์ทรถยนต์ เหมือนการใช้รถปกติประจำวัน (กรณีใช้ในรถยนต์) หรือ
จากสวิทช์เมน (กรณีใช้งานอื่น) ก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลจากสวิทช์กุญแจ หรือจากสวิทช์เมน ผ่าน สาย
ไฟฟ้าสีแดงเส้นเล็ก (ขนาดประมาณ 1 Sq.mm.) ไปยังสวิทช์ย่อย หรือสวิทช์เปิด/ปิดระบบฯ (เพื่อให้ผู้ใช้
งาน สามารถเลือกใช้งาน หรือตัดระบบการทำงานได้ทั้งหมดจากสวิทช์นี้) จากนั้นจึงต่อผ่านไปยังรีเลย์แล้ว
ผ่านไปยังสายไฟฟ้าลบเส้นเล็กสีดำที่ต่อกลับไปยังขั้วแบตเตอรี่ หรือต่อไปร่วมกับสายขั้วลบเส้นใหญ่สีดำ
ที่ต่อกลับไปยังขั้วลบของแบตเตอรี่ เพื่อครบวงจรที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าของระบบฯ ในขณะที่
กระแสไฟฟ้าหลักซึ่งมีปริมาณสูงกว่า ต้องใช้สายไฟฟ้าสีแดง (ขนาดประมาณ 6 Sq.mm.) จ่ายไฟฟ้าโดย
ตรงจากขั้วบวกของแบตเตอรี่ ตรงไปยังชุดรีเลย์ แล้วผ่านกล่องฟิวส์ขนาด 30 แอมป์ ผ่านต่อไปยังเซลล์
สร้างก๊าซ จากนั้นจึงไหลกลับไปยังสายขั้วลบด้วยสายสีดำ (ขนาดประมาณ 6 Sq.mm.) เพื่อกลับไปยังขั้ว
ไฟ ฟ้าลบของแบตเตอรี่ ลักษณะดังนี้ จะเกิดการสร้างก๊าซไฮโดรเจน และออกซิเจนในเซลล์ขึ้น (กรณีนี้
ควรหลีกเลี่ยงการต่อขั้วลบโดยการลงกราวด์กับตัวถังรถยนต์) ซึ่งจะเห็นได้ว่า สวิทช์กุญแจ หรือสวิทช์เมน
และสวิทช์เปิด/ปิดระบบฯ จะทำงานคู่กัน หากเปิดสวิทช์เปิด/ปิด แต่ไม่หมุนสวิทช์กุญแจสตาร์ท หรือสวิทช์
เมน ระบบฯก็จะไม่ทำงาน หรือหมุนสวิทช์กุญแจ หรือสวิทช์เมนแล้ว แต่ไม่เปิดสวิทช์เปิด/ปิด ระบบฯก็จะ
ไม่ทำงานเช่นกัน ดังนั้นเมื่อสายไฟฟ้าต่อครบวงจร ตัวรีเลย์จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน โดยทำหน้าที่ต่อกระแส
ไฟฟ้าสำหรับกระแสปริมาณสูง ซึ่งจะส่งตรงไปยังเซลล์สร้างก๊าซตามที่ได้กล่าวมาแล้ว

การบำรุงรักษา
 

    โดยทั่วๆไป เนื่องจากระบบฯ ดังกล่าวออกแบบไว้ให้มีการดูแลรักษาน้อยมาก ดังนั้นการดูระดับน้ำในขวด
บับเบลออย่างน้อยเดือนละครั้ง และการตรวจความผิดปกติจากภายนอกของอุปกรณ์ รวมถึงความหลวม
คลอนของจุดยึดอุปกรณ์ และขั้วสายไฟต่างๆ 2 เดือนต่อครั้ง ก็เพียงพอแล้ว


 

 
 
 

 
 
 

 

www.dv-hydrogen.net  โทร. 082-3055407

Copyright (c) 2006 by Your Name